ผลวิจัยเผย แบคทีเรียในลำไส้เกี่ยวข้องกับความรุนแรงของโรคโควิด-19

14 ม.ค. 64 (15:33 น.) ที่มา Sanook.comhttps://www.sanook.com/news/8337406/ รายงานผลการวิจัยในวารสาร Gut ระบุว่า จุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในลำไส้ของเราอาจจะส่งผลต่อความรุนแรงของโรคโควิด-19 และการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของเรา รวมทั้งอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับอาการที่ยังคงอยู่หลังจากหายจากโรคแล้ว นักวิจัยจาก Chinese University of Hong Kong ค้นพบว่า จุลินทรีย์ในลำไส้ของผู้ป่วยโควิด-19 มีลักษณะที่แตกต่างจากจุลินทรีย์ในลำไส้ของผู้ที่ไม่ได้ติดเชื้ออย่างมาก นอกจากนี้ ภาวะความไม่สมดุลของแบคทีเรียในร่างกาย หรือ dysbiosis จะยังคงอยู่หลังจากที่ไวรัสหายไป และอาจมีบทบาทสำคัญต่ออาการป่วยที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในร่างกายของผู้ป่วยบางราย…

Read more

วิจัยพบ ‘จุลินทรีย์โพรไบโอติก’ กระตุ้นภูมิคุ้มกันสู้โควิด-19

TNN ช่อง16 9 มีนาคม 2564 ( 08:45 ) วันนี้ ( 9 มี.ค. 64 )จากผลวิจัย ที่ระบุว่า จุลินทรีย์และแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในลำไส้มีผลต่อความรุนแรงของโรคโควิด-19 และการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ซึ่งจะส่งผลทำให้ไวรัสติดเชื้อในเซลล์ในระบบทางเดินอาหารได้ง่ายขึ้น รวมทั้งมีส่วนเกี่ยวข้องกับอาการที่ยังคงอยู่หลังจากหายป่วยจากโรคโควิด19แล้ว ทำให้มีงานวิจัยหลายฉบับจากทั่วโลกได้ จึงมุ่งศึกษา “โพรไบโอติกส์ (Probiotics)”  จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย อาจเป็นอีกทางเลือกในการต่อสู้กับเชื้อไวรัสโคโรนาหรือ SARS-CoV-2…

Read more
ความรู้เรื่องโพรไบโอติค

โพรไบโอติกส์อาจช่วยบรรเทาอาการท้องผูก

25 มิถุนายน พ.ศ. 2562 โดย จูเลีย คอรร์ลิสส์ บรรณาธิการบริหาร Harvard Heart Letter โพรไบโอติกส์ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่มีประโยชน์ที่สามารถพบได้ในโยเกิร์ตและอาหารหมักชนิดอื่นๆ ได้รับการขนานนามมานานแล้วว่ามีความสามารถในการบรรเทาอาการของโรคระบบทางเดินอาหาร และการรับประทานโพรไบโอติกส์สามารถช่วยบรรเทาอาการท้องผูกในผู้ป่วยบางราย ร้านขายยาและซูเปอร์มาร์เก็ตมีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโพรไบโอติกส์ชนิดต่างๆให้เลือกมากมาย  โดยแบคทีเรียที่ใช้กันมากที่สุดในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเหล่านี้คือ แลคโตบาซิลลัส และบิฟิโดแบคทีเรีย หลักฐานที่ชัดเจนที่สุดเกี่ยวกับประโยชน์ของโพรไบโอติกส์ก็คือการรักษาอาการท้องร่วงที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือจากการใช้ยาปฏิชีวนะ เนื่องจากทั้งการติดเชื้อและยาปฏิชีวนะจะไปรบกวนสมดุลตามธรรมชาติของแบคทีเรียในระบบย่อยอาหาร ซึ่งโพรไบโอติกส์สามารถช่วยฟื้นฟูสมดุลนี้ได้  แต่ปัญหาที่ตรงกันข้ามที่พบได้บ่อยกว่าอาการท้องร่วงก็คืออาการท้องผูก โดยอาการท้องผูกส่งมีผลกระทบต่อผู้ใหญ่ประมาณ 14% และในแต่ละปี ประชากรในสหรัฐอเมริกาเข้ารับการรักษาพยาบาลอันเนื่องจากอาการท้องผูกถึงประมาณ…

Read more
ความรู้เรื่องโพรไบโอติค

ประโยชน์ต่อสุขภาพของการรับประทานโพรไบโอติกส์ โดยแพทย์ฮาร์ดวาร์ด

อัพเดท: 13 เมษายน พ.ศ. 2563 โดย Harvard Health (บทความสุขภาพจากแพทย์ฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา) การรับประทานโพรไบโอติกส์มีประโยชน์อย่างไร?    เป็นที่ทราบกันดีว่าแบคทีเรียสามารถก่อให้เกิดโรคได้ ดังนั้นความคิดในการรับประทานโพรไบโอติกส์สักสองสามพันล้านตัวต่อวันเพื่อสุขภาพของคุณจึงเป็นเรื่องยากที่จะเชื่อ   แต่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์จำนวนมากขึ้นที่แสดงให้เห็นว่าคุณสามารถรักษาและป้องกันความเจ็บป่วยบางประการได้ด้วยอาหารและอาหารเสริมที่มีแบคทีเรียที่มีชีวิตบางชนิด  โดยชาวยุโรปเหนือบริโภคจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์เหล่านี้จำนวนมาก ซึ่งเรียกว่าโพรไบโอติกส์ (มาจากคำว่า pro และ biota ซึ่งแปลว่า “เพื่อชีวิต”) เนื่องจากมีประเพณีในการรับประทานอาหารที่หมักด้วยแบคทีเรีย เช่น โยเกิร์ต…

Read more
ความรู้เรื่องโพรไบโอติค

โพรไบโอติกส์ที่ได้รับการระบุว่าสามารถรักษาแผลในทางเดินอาหารได้

24 กุมภาพันธ์ 2011 ที่มา: สมาคมจุลชีววิทยาอเมริกัน สรุป: นักวิจัยได้ระบุสายพันธุ์ของแบคทีเรียโพรไบโอติกส์ที่อาจเป็นประโยชน์ในการรักษาแผลที่เกิดจากเชื้อ Helicobacter pylori นักวิจัยจากสเปนได้ระบุสายพันธุ์ของแบคทีเรียโพรไบโอติกส์ที่อาจมีประโยชน์ในการรักษาแผลที่เกิดจากเชื้อ Helicobacter pylori   และได้รายงานผลการวิจัยเอาไว้ในวารสาร Applied and Environmental Microbiology ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2011 นักวิจัยระบุว่า “H. pyroli ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะและแผลในกระเพาะอาหารและเยื่อบุลำไส้เล็ก”   “ปัจจุบัน การรักษาการติดเชื้อ…

Read more
ความรู้เรื่องโพรไบโอติค

โพรไบโอติกส์สามารถช่วยต่อสู้กับโรคลำไส้แปรปรวน (IBS) ได้อย่างไร

โพรไบโอติกส์เป็นประเด็นที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมากในขณะนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยโรคลำไส้แปรปรวน (IBS) โรคลำไส้แปรปรวน หรือ IBS เป็นโรคเรื้อรังที่ทำให้เกิดอาการปวดท้องและทำให้พฤติกรรมการขับถ่ายอุจจาระเปลี่ยนไป และผู้คนจำนวนมากใช้โพรไบโอติกส์โดยหวังว่าการปรับสมดุลของแบคทีเรียในลำไส้จะทำให้อาการป่วยของตนดีขึ้น ในบทความนี้เราจะกล่าวถึงงานวิจัยล่าสุดที่ศึกษาการใช้โพรไบโอติกส์ในการรักษาโรคลำไส้แปรปรวน รวมถึงสายพันธุ์ของโพรไบโอติกส์และอาการของโรค โรคลำไส้แปรปรวน (IBS) คืออะไร? โรคลำไส้แปรปรวนเป็นโรคเรื้อรังที่ทำให้เกิดอาการปวดท้องหรือความรู้สึกไม่สบายตัว รวมถึงอาการท้องอืด แก๊สในกระเพาะอาหาร ท้องผูก และท้องร่วง โรคนี้ส่งผลกระทบต่อผู้คน 7–21% ทั่วโลก และพบในผู้หญิงชาวตะวันตกได้มากกว่าในผู้ชายถึง 3 เท่า แม้ว่าความแตกต่างระหว่างเพศในประชากรชาวเอเชียจะไม่มากนัก…

Read more