ความรู้เรื่องโพรไบโอติค

ผลการศึกษาล่าสุด “บทบาทของโพรไบโอติกในโรคกรดไหลย้อน (GERD)”

17 มกราคม 2563

          โรคกรดไหลย้อน (GERD) เป็นโรคระบบทางเดินอาหารที่พบได้บ่อยและสร้างปัญหาเรื้อรัง สาเหตุเกิดจากการไหลย้อนอย่างผิดปกติของน้ำย่อยจากกระเพาะอาหารเข้าไปในหลอดอาหาร ซึ่งทำให้เยื่อเมือกในหลอดอาหารได้รับความเสียหาย   โรคกรดไหลย้อนเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น ความเครียด การรับประทานอาหารอย่างไม่เหมาะสม ความบกพร่องของการย่อยอาหาร ความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร ไส้เลื่อนกระบังลม และความผิดปกติของกล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหาร   โดยปัจจัยเสี่ยงของโรคกรดไหลย้อน ได้แก่ การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ และการใช้ยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID)

          ไม่นานมานี้ มีผลงานวิจัยที่กล่าวว่าความเสียหายของหลอดอาหารในโรคกรดไหลย้อนนั้นเกิดจาก “ไซโตไคน์ (cytokine) ซึ่งเป็นสารก่ออักเสบ” และไม่ได้เกิดจากกรดในกระเพาะอาหารโดยตรง

          แม้ว่าการรักษาโดยการใช้ยาอาจสามารถจัดการกับอาการต่าง ๆ ของโรคกรดไหลย้อนได้ แต่วิธีนี้ อาจไม่สามารถแก้ไขปัจจัยที่เป็นสาเหตุของโรคได้โดยตรงและมักมีผลข้างเคียง   วิธีที่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะจัดการกับโรคกรดไหลย้อนก็คือการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและโภชนาการบำบัด   โดยผู้ป่วยควรรับประทานอาหารให้น้อยลงในแต่ละมื้อ   นอกจากนี้ ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการนอนราบหลังรับประทานอาหาร และหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารใกล้เวลานอนมากเกินไป   และแอลกอฮอล์และอาหารบางชนิดยังสามารถกระตุ้นอาการของโรคนี้ได้อีกด้วย

          แม้ว่ายายับยั้งการหลั่งกรดกลุ่ม PPI (ยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของ proton pump) ที่ใช้รักษาโรคกรดไหลย้อนจะสามารถบรรเทาอาการของโรคนี้ได้ แต่อาจไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาอย่างแท้จริง   เนื่องจากในการศึกษาก่อนหน้านี้พบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ยากลุ่ม PPI กับโรคไตเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด และการเพิ่มขึ้นของความเสี่ยงต่อการเกิดหัวใจวาย   นอกจากนี้ PPI ยังอาจทำให้เกิดปัญหาอื่น ๆ เช่น ความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร และการเจริญเติบโตมากเกินไปของแบคทีเรียในลำไส้เล็ก (SIBO)

          จากข้อมูลในการทบทวนผลการศึกษาล่าสุดที่ได้รับการตีพิมพ์เมื่อสองสัปดาห์ที่ผ่านมาในวารสาร Nutrients นักวิจัยได้ศึกษาผลของโพรไบโอติกในการบรรเทาความรุนแรงและความถี่ของอาการของโรคกรดไหลย้อน   และพบว่าโพรไบโอติกมีความเกี่ยวข้องกับการปรับระบบภูมิคุ้มกัน และเร่งการย่อยของกระเพาะอาหาร (gastric emptying) โดยจะออกฤทธิ์ต่อตัวรับสัญญาณสร้างเยื่อเมือกในกระเพาะอาหาร (stomach mucosal receptor) แต่ยังไม่ค่อยมีการศึกษาประโยชน์ต่อสุขภาพของระบบทางเดินอาหารส่วนบนกันมากนัก

          การทวนทวนผลการศึกษาดังกล่าวได้ทบทวนผลการศึกษา (prospective studies) 13 ฉบับ ซึ่งเป็นบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ 12 ฉบับ   โดย 79% ของการศึกษาเหล่านี้กล่าวถึงประโยชน์ของโพรไบโอติกและอาการของโรคกรดไหลย้อน และ 45% กล่าวถึงประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับอาการกรดไหลย้อนโดยเฉพาะ ซึ่งรวมถึงการช่วยลดการอาเจียน และการบรรเทาอาการเสียดท้องหรือกรดไหลย้อน   งานวิจัย 5 ฉบับจากทั้งหมด 11 ฉบับ ซึ่งพบว่าโพรไบโอติกมีผลดีต่อโรคกรดไหลย้อน รายงานว่า ผู้มีปัญหาอาหารไม่ย่อยมีอาการดีขึ้น และมีงานวิจัย 9 ฉบับที่รายงานว่า โพรไบโอติกทำให้อาการของทางเดินอาหารส่วนบน ซึ่งได้แก่ อาการคลื่นไส้ ปวดท้อง แสบท้อง และการเรอ มีอาการที่ดีขึ้น ดังนั้น การทบทวนผลการศึกษาครั้งนี้จึงแสดงให้เห็นว่าโพรไบโอติกมีประโยชน์และส่งผลดีต่อผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนได้จริง  

          โดยทั่วไปแล้วเราควรมองหา “ทางเลือกจะมีประสิทธิภาพ”มากกว่าการใช้ยากลุ่ม PPI และไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงหรือภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่เกิดจากการใช้ PPI เช่น การขาดแร่ธาตุ การติดเชื้อแบคทีเรีย และความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร

โดย ไมเคิล เจอร์เจเลวิซซ์

https://blog.designsforhealth.com/node/1189

แหล่งที่มา: Cheng J, Ouwehand A. Gastroesophageal Reflux Disease and Probiotics: A Systemic Review. Nutrients. 2020 January 2; 12(1)

คัดเฉพาะจุลินทรีย์ 5 สายพันธุ์ ที่มีผลวิจัยรองรับคุณสมบ้ติ ช่วยจัดการปัญหาทางเดินอาหาร ได้หลายอาการ และช่วยเสริมสร้าง ภูมิคุ้มกันของร่างกาย